บัญชีเบื้องต้น 1 (2201 – 1002)
บทที่ 3 การวิเคราะห์รายการค้า
ความหมายของการวิเคราะห์รายการค้า
การวิเคราห์รายการค้า(Business Transaction Analysis)
ความหมายของการวิเคราะห์รายการค้า (Business Transaction Analysis)
การวิเคราะห์รายการค้า หมายถึง การพิจารณาว่ารายการค้าที่เกิดขึ้น มีผลทำให้สินทรัพย์
หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงเป็นจำนวนเท่าใด
เมื่อวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วจึงนำไปบันทึกลงในสมุดบัญชีต่าง ๆ หลักในการวิเคราะห์
รายการค้า
ความหมายของการบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี หมายถึง การจดเรื่องราวเกี่ยวกับรายจ่าย หรือสิ่งของที่ตีมูลค่าเป็นจำนวนเงินลงในรูปแบบบัญชีที่กำหนด จะได้ผลจากการ
ดำเนินงานไปสรุปผลในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อหาผลกำไรขาดทุน
รายการค้า ------> สมุดบัญชีแยกประเภท ----------> งบดุ
ดังนั้น การวิเคราะห์รายการค้ารายการหนึ่ง ๆ จะต้องบันทึกบัญชีทางด้าน
เดบิตบัญชีหนึ่งและทางด้านเครดิตอีกบัญชีหนึ่ง ในจำนวนเป็นที่เท่ากัน ลักการบัน
ทึกนลักษณะนี้เรียกว่า หลักการบัญชีคู่
(Double Entry System)
ลักษณะของบัญชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภทโดยทั่วไป มีลักษณะแบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งสำหรับจดบันทึกรายการค้าที่เพิ่มขึ้นและอีกด้านหนึ่งสำหรับจดบันทึก
รายการค้าที่ลดลง
ทางด้านซ้ายมือของบัญชีแยกประเภท เรียกว่า ด้านเดบิต (Debi )ตัวย่อ Dr
ทางด้านขวามือของบัญชีแยกประเภท เรียกว่า ด้านเครดิต(Credit)ตัวย่อ Cr
หลักในการบันทึกบัญชี
การบันทึกบัญชีหลักจากการวิเคราะห์รายการค้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.1สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด
1.2หนี้สินเพิ่ม หนี้สินลด
1.3ส่วนของเจ้าของเพิ่ม ส่วนของเจ้าของลด
หลักในการบันทึกบัญชีประเภทสินทรัพย์
เมื่อสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ให้บันทึกบัญชีสินทรัพย์ ด้านเดบิต
เมื่อสินทรัพย์ลดลง ให้บันทึกบัญชีสินทรัพย์ ด้านเครดิต
หลักในการบันทึกบัญชีประเภทหนี้สิน
เมื่อหนี้สิน์เพิ่มขึ้น ให้บันทึกบัญชีหนี้สิน ด้านเครดิต
เมื่อหนี้สินลดลง ให้บันทึกบัญชีหนี้สิน ด้านเดบิต
หลักในการบันทึกบัญชีประเภทส่วนของเจ้าของกิจการ เมื่อส่วนของเจ้าของกิจการเพิ่มขึ้น ให้บันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ ด้านเครดิต
เมื่อส่วนของเจ้าของกิจการลดลง ให้บันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ ด้านเดบิต
การตั้งชื่อบัญชี
ประเภทของบัญชี
ประเภทของบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.บัญชีประเภทสินทรัพย์ ได้แก บัญชีประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์อื่น ๆ
2.บัญชีประเภทหนี้สิน ได้แก่ บัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาว
3.บัญชีรปะเภทส่วนของเจ้าของ ได้แก่ บัญชีประเภททุน และการถอนเงินไปใช้
ส่วนตัว
การกำหนดชื่อบัญชีแยกประเภท
หลักจากที่ได้วิเคราะห์รายการค้าแล้ว ให้พิจารณาว่ารายการค้าที่จะบันทึกบัญ
ชีนั้นใช้ชื่อบัญชีใด โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกำหนดชื่อบัญชีแยกประเภท มีดังนี้
1.ใช้ชื่อบัญชีที่นิยมใช้โดยทั่วไป
2.ตั้งชื่ิให้มีความหมายตามประเภทและหมวดของบัญชี
3.ไม่ควรตั้งชื่อบัญชียาวไป หรือชื่อแปลก
4.ชื่อบัญชีที่ตั้งนั้นควรลงรายการค้าได้มาก ๆ
การตั้งชื่ิบัญชีตามประเภทของบัญชี มีดังนี้
1.บัญชีประเภทสินทรัพย์ ได้นำชื่อของสินทรัพยืมาตั้งชื่อบัญชี เช่น บัญชีเงินสด บัญชีลูกหนี้ บัญชีวัสดุสำนักงาน ฯลฯ
2.บัญชีประเภทหนี้สิน ให้นำชื่อหนี้สินมาตั้งเป็นชื่อบัญชี เช่น บัญชีเจ้าหนี้ บัญ
ชีเงินกู้ ฯลฯ
3.บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ ให้นำชื่อประเภทส่วนของเจ่าของมาตั้งเป็นชื่อ
บัญชี เช่น บัญชีทุน บัญชีถอนใช้ส่วนตัว ฯลฯ