business guide
  • หน้าหลัก
  • บทที่ 1
  • บทที่2
  • บทที่3
  • บทที่4
  • บทที่5
  • บทที่6

บัญชีเบื้องต้น 1  (2201 – 1002)

แบบทดสอบก่อนเรียน

 

บทที่ 2 สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
http://www.programbhunchee.com/images/nnat50x.gifสมการบัญชี
สมการบัญชี คือ สมการที่แสดงความสำพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน) จะแสดงความสมดุลกันอยู่เสมอ
สามารถเขียนเป็นรูปสมการบัญชี ได้ดังนี้
       1. กิจการที่ไม่มีหนี้สิน สมการจะเป็น ดังนี้
สินทรัพย์ = ส่วนของเจ้าของ (ทุน) 
       2. กิจการที่มีหนี้สิน สมการจะเป็นดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน) 
Assets = Liabilities + Owners Equity
http://www.programbhunchee.com/images/nnat50x.gifประเภทของหนี้สิน
         ในการจัดประเภทหนี้สิน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 
1.หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนภาย
ใน 1 ปี หรือภายในระยะเวลารอบการดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน หรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน
2.หนี้สินระยะยาว (Long-term Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนมาก
กว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
3.หนี้สินโดยประมาณ (Estimated Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งไม่ทราบจำนวนแน่นอนและได้ประมาณขึ้น
4. หนี้สินอันอาจเกิดขึ้น (Contingant Liabilities) หมายถึง รายการที่อาจจะเป็นพันธะผูกพันในอนาคต
5.หนี้สินอื่น ๆ (Other Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเข้าในหนี้สินประเภทใด ๆ
ได้
http://www.programbhunchee.com/images/nnat50x.gifความหมายของงบดุล
       งบดุล หมายถึง รายงานที่แสดงให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของบุคคลหรือกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด
       สินทรัพย์ที่ปรากฏในงบดุล ณ วันใดวันหนึ่งจะมีจำนวนเท่ากับผลรวมของจำนวนหนี้สิน
ทั้งหมดกับส่วนราชการ ซึ่งอาศัยหลักของสมการบัญชีดังนี้
              สินทรัพย์          =          หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
              Assets          =           Liabilities +  Owerner' Equity
              A                 =           L   +    OE 
ดังนั้น การแสดงควาสมดุลระหว่านสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของนอกจากแสดงในรูป
แบบสมการบัญชีแล้ว สามารถนำมาจัดทำในงบดุลได้
http://www.programbhunchee.com/images/nnat50x.gifประเภทของสินทรัพย์์
ในการจัดประเภทของสินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง เงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ๆที่มีเหตุผลจะ
คาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระเวลาการดำเนิน
งานตามปกติของกิจการ ถ้ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการสั้นกว่า 1 ปี ให้ถือระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทสินค้าหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด เงินฝาก
ธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ฯลฯ 
2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( Non Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำ
หนดของสินทรัพย์หมุนเวียนให้จัดเป็นประเภท สินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียน ได้แก่ เงินลงทุนระยะ
ยาว ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
3. สินทรัพย์อื่น (Other Assets Sundry Assets ) หมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่อาจจัดเข้าเป็น
สินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์ถาวรได้ เช่น เงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน ที่มิได้ใช้ในการดำ
เนินกิจการในปัจจุบัน
http://www.programbhunchee.com/images/nnat50x.gifการจัดประเภทของรายการในงบดุล และประเภทของงบดุล
การประเภทของรายการในงบดุล แบ่งออกได้ 3 ส่วน ได้แก่
    1.สินทรัพย์ แบ่งออกเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
    2.หนี้สิน แบ่งออกเป็น หนี้สินหมุนเวียนแล ะหนี้สินร ะย ะยาว
    3.ส่วนของเจ้าของ ได้แก่ ทุนใช้ถอนส่วนตัว

งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
     1.งบดุลแบบบัญชี
     2.งบดุลแบบรายงาน

 

แบบทดสอบหลังเรียน


© Copyright Information Goes Here. All Rights Reserved.

วิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรี