แนวคิด
                สไลด์ที่สร้างไว้มากมายโดยไม่มีสีสันหรือลวดลายประกอบนั้น ถ้านำไปแสดงในที่ประชุมก็อาจ ทำให้ผู้ชมไม่สนใจ  การตกแต่งสไลด์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไว้ แต่ก็ต้องไม่มากเกิน ไปจนทำให้ผู้ชมสับสน  ซึ่งการตกแต่งสไลด์นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่จำเป็น 3 อย่างคือ
                1.   Template  (แม่แบบ)  คือแบบสไลด์สำเร็จรูปหรือแม่แบบที่ PowerPoint เตรียมไว้ให้มีทั้งลวด ลาย สี  ฟอนต์และขนาดตัวอักษร  ช่วยให้การแต่งสไลด์ได้รวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น
                2.   Color Schemes  (โครงร่างสี)  คือกลุ่มของสีที่มีอยู่ด้วยกัน 8 สี  ที่ออกแบบมาให้ใช้กับส่วนประกอบต่างๆ ในสไลด์  เช่น สีที่ใช้กับข้อความและเส้น, พื้นหลัง, เงา, หัวเรื่องและอื่นๆ  ซึ่งมีให้เลือกหลายชุดด้วยกันและจะแตกต่างกันไปเมื่อเลือกแม่แบบที่ต่างกัน
                3.   Master  (ต้นแบบ)  ช่วยให้การแต่งสไลด์ต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น กำหนดฟอนต์และ ขนาดของข้อความที่เป็นรายการย่อยครั้งเดียวในสไลด์ที่เป็นต้นแบบ  ก็จะมีผลต่อทุกๆ สไลด์ แต่ถ้าจะทำ ให้แผ่นสไลด์ใดๆ  แตกต่างจากสไลด์อื่น  ก็ให้แต่งที่สไลด์แผ่นนั้นๆ  แทน


แบบทดสอบก่อนเรียน..>>


เป็นแบบสไลด์สำเร็จรูปที่ โปรแกรมเตรียวไว้ให้ีัทั้งลวดลาย สี ฟอนต์ ทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น



                ในแต่ละแม่แบบนั้นจะมีโครงร่างสีให้เลือกใช้ได้หลายชุดด้วยกัน ในแต่ละชุดจะประกอบด้วย สีที่ใช้กับแต่ละส่วนประกอบที่มี 8 ชิ้นด้วยกัน โดยสีต่างๆ ในแต่ละชุดจะเข้ากับลวดลายของแต่ละแม่แบบ และสื่อที่จะใช้แสดง  เช่น บางชุดเหมาะที่จะนำเสนอบนสไลด์แบบ 35 mm แต่บางชุดก็เหมาะกับจอคอม พิวเตอร์ อย่างไรก็ตามสามารถจะเปลี่ยนสีใดๆ ในชุดสีให้เป็นสีอื่นอย่างที่ต้องการได้


ถ้าหากไม่ชอบสีที่โปรแกรมมีให้ ให้คลิกที่แก้ไขโครงร่างสีแล้วเลือกสีที่ต้องการ


พื้นหลังของสไลด์ก็สามารถที่จะเปลี่ยนให้มีลวดลายได้คือ เป็นพื้นผิวต่างๆที่เกิดจากเส้น หรือเป็นภาพถ่าย

เปลี่ยนพื้นหลังให้เป็นสีต่างๆ


 


                ถ้าจะให้มีข้อความใดปรากฏในสไลด์ทุกๆ แผ่น เช่น วันที่ หัวเรื่องของการสัมมนาหรือลำดับที่ ของสไลด์  ข้อความเหล่านี้ควรจะใส่ไว้ในส่วนหัวและท้ายสไลด์ (Header และ Footer) ซึ่งปกติในต้นแบบ ต่างๆ  จะมีข้อความเหล่านี้ให้ไว้แล้ว เพียงแต่เลือกว่าให้แสดงข้อความใดบ้างและจะมีรูปแบบอย่างใดดังนี้
  • เลือก View --> Header and Footer  (มุมมอง--> หัวกระดาษและท้ายกระดาษ)
  • คลิกแท็บ  Slide  (ภาพนิ่ง)


  • คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า Date and Time  (วันที่และเวลา) เพื่อแสดงวันที่และเวลาหรือคลิกซ้ำ เพื่อยกเลิก  โดยมีรายละเอียดให้กำหนดเพิ่ม  ดังนี้
                    -  Update  automatically  (ปรับปรุงอัตโนมัติ)  ถ้าคลิกเลือกวันและเวลาที่แสดงจะเปลี่ยน ไปตามเวลาที่ฉายสไลด์  และแสดงตามรูปแบบภาษาที่เลือกในช่อง Language (ภาษา)
                    -  Fixed  (คงที่)  ถ้าคลิกเลือก จะแสดงวันที่และเวลาตามที่กรอกในช่องด้านล่าง
                    4.   คลิกเลือก Slide Number  (หมายเลขภาพนิ่ง)  เพื่อแสดงลำดับที่ของสไลด์
    หรือคลิกซ้ำอีกครั้งเพื่อยกเลิก
                    5.   คลิกเลือก Footer  (ท้ายกระดาษ) ถ้าจะแสดงข้อความที่กรอกไว้ในช่องด้านล่าง ที่ท้ายกระดาษ  หรือคลิกซ้ำอีกครั้งเพื่อไม่แสดง
                    6.    คลิกเลือก Don’t  show on title slide (ไม่แสดงบนชื่อภาพนิ่งแรก) เพื่อสั่งไม่แสดง รายการที่เลือกไว้บนสไลด์แผ่นแรกที่ใช้การจัดวางแบบ Title Slide (ชื่อเรื่องภาพนิ่ง) หรือคลิกซ้ำ
    อีกครั้งเพื่อสั่งแสดง
                    7.    คลิกปุ่ม  Apply  (นำไปใช้)  เพื่อให้มีผลเฉพาะสไลด์ที่เลือก  หรือคลิกปุ่ม Apply All (ใช้กับทั้งหมด)  เพื่อให้มีผลกับทุกสไลด์


          นอกจากจะใส่วันที่และเวลาไว้ในส่วนหัวและส่วนท้ายของสไลด์แล้ว  อาจนำมาใส่ในบริเวณเดียวกับข้อความในสไลด์ก็ได้ หรือถ้าจะใส่ในส่วนหัวและส่วนท้ายสไลด์เอง ก็ต้องสั่งยกเลิกรายการที่ระบุในคำสั่ง  View --> Header and Footer  (มุมมอง--> หัวกระดาษและท้ายกระดาษ)  ก่อน  จากนั้นสร้างเท็กซ์บ็อกซ์ขึ้นมาใหม่  แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • คลิกปุ่ม  Text Box  และคลิกลากเมาส์ให้ได้ขนาดของเท็กซ์บ็อกซ์ตามที่ต้องการ
    • เลือก Insert --> Date and Time  (แทรก --> วันที่และเวลา)
    • คลิกเลือกรูปแบบ วันที่และเวลา
    • คลิกเลือกเพื่อแสดงวันที่และเวลาตามวัน และเวลาที่ฉายสไลด์




หน่วยที่... 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11