หน่วยที่ 4

              ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

แบบฝึกหัดก่อนเรียน

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ จำเป็นที่ต้องอาศัยไอดี ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการที่ทำให้เกิดไอดีที่มีประสิทธิภาพอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นรวมกันเรียกว่า “ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง”
ส่วนประกอบของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

ประกอบด้วยสิ่งสำคัญหลักต่อไปนี้
1. หม้อกรองอากาศ
2. ก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
3. คาร์บูเรเตอร์
1. หม้อกรองอากาศ (Air Cleaner)
ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองในอากาศเข้าไปในกระบอกสูบ ซึ่งจะเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาฝนเครื่องยนต์ เพื่อทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบรูณ์ ในหม้อกรองอากาศอยู่ภายในแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ไส้กรองอากาศชนิดแห้ง (Dry Type) เป็นไส้กรองที่ทำด้วย กระดาษ โดยจะทำเป็นจีบ เพื่อให้มีพื้นที่กรองได้มาก
1.2 ไส้กรองอากาศชนิดเปียก (Wet Type) เป็นไส้กรองที่ทำด้วย ฟองน้ำโดยอ่อน การใช้งานต้องชโลมน้ำมันหล่อลื่นก่อนทุกครั้ง
ในกรณีที่ไส้กรองอากาศอุดตันจะเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์ดังนี้
1. สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากผิดปกติ
2. การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่หมดจด
3. เครื่องยนต์ร้อนจัด
4. เครื่องยนต์สึกหรอผิดปกติ
ผลเสียของการถอดไส้กรองอากาศออก
จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ กับเครื่องยนต์และทำให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติ
2. ก๊อกน้ำมัน (Fuel Cock)
เป็นส่วนประกอบของถังน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเปิด-ปิด น้ำมันที่ไหลไปยังคาร์บูเรเตอร์
ชนิดของก๊อกน้ำมันแบบธรรมดา แบ่งออกเป็น
2.1 ก๊อกน้ำมันแบบธรรมดา
2.2 ก๊อกน้ำมันแบบอัตโนมัติแบบมีตำแหน่งบิด เป็นก๊อกน้ำแบบไดอะแฟรม ก๊อกน้ำแบบนี้จะทำงานปิด-เปิดน้ำมันอัตโนมัติ


ส่วนประกอบที่สำคัญ
1. สปริง
2. ลิ้นเปิด-ปิดน้ำมัน
3. แผ่นไดอะแฟรม
4. ท่อสุญญากาศจากท่อไอดี
5. ท่อน้ำมันต่อไปยังคาร์บูเรเตอร์
2.3 ก๊อกน้ำมันแบบอัตโนมัติแบบไม่มีตำแหน่งบิด
ส่วนประกอบ
1. สปริงไดอะแฟรม
2. ลิ้นเปิด-ปิดน้ำมัน
3. แผ่นไดอะแฟรม
4. ท่อสุญญากาศ
5. ท่อน้ำมันต่อไปยังคาร์บูเรเตอร์
3. คาร์บูเรเตอร์ (Carburetor)
คือ อุปกรณ์หรือกลไกที่ทำหน้าที่ ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ที่เรียกว่า “ไอดี” ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อจ่ายให้กับเครื่องยนต์ ในจังหวะที่เครื่องยนต์ต้องการ และพอที่จะสรุปหน้าที่ของคาร์บูเรเตอร์ได้ดังนี้
1. กำหนดจำนวนส่วนผสมตามที่เครื่องยนต์ต้องการ
2. ปรับส่วนผสมให้หนามาก-น้อยตามสภาพของเครื่องยนต์
ประเภทของคาร์บูเรเตอร์ (Carburetor Type) ซึ่งพอที่จะแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. แบ่งตามทิศทางการดูด (Drsught)
2. แบ่งตามชนิดลูกเร่ง (Throttle Valve)
3. แบ่งตามขนาดคอคอด (Venturi Size)
ระบบการทำงานคาร์บูเรเตอร์ (Operating Carburetor System) ซึ่งวงจรการทำงานภายในคาร์บูเรเตอร์จะสรุปได้ดังนี้
1. วงจรลูกลอย (Float System)
2. วงจรสตาร์ต (Starter System)
3. วงจรเดินเบา (Slow System)
4. วงจรความเร็วปานกลาง (Medium Speed System)
5. วงจรความเร็วสูง (High Speed System )


แบบฝึกหัดหลังเรียน