หน้าหลัก  ขั้นตอนการดำเนินการ
ระบบทวิภาคี (Dual Vocational Education)
คือ ความร่วมมือกันระหว่างวิทยาลัยและสถานประกอบการต่าง ๆ ร่วมมือกันฝึกอาชีพและให้ความรู้แก่นักศึกษา ในโครงการฝึกพนักงาน หลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเพื่อเป็นการสร้างนักศึกษาให้เป็นบุคลากรที่มีทักษะ และความชำนาญในการทำงานตรงตามสาขาอาชีพ โดยแต่ละฝ่ายจะมีส่วนร่วมในการฝึกอาชีพ
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาประชาชนที่มีงานอาชีพ ได้เพิ่มวุฒิการศึกษา โดยการศึกษาในระบบทวิภาคี และสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป
  • เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้รับการฝึกอาชีพ ที่ตรงตามสาขางาน
  • เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถทำงานในสถานประกอบการได้
วุฒิการศึกษาที่ได้รับ
  • ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ระดับ ปวส.)
  • ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอาชีพทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การเป็นนักศึกษาระบบทวิภาคี
  • ปรึกษากับอาจารย์แนะแนว และผู้ปกครองของท่าน หรือเข้าพบเจ้าหน้าที่ระบบทวิภาคีของวิทยาลัย
  • ตัดสินใจเลือกสาขาอาชีพที่ถนัดและเหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด
  • สมัครเป็นนักศึกษาระบบทวิภาคีเพื่อฝึกอาชีพในสถานประกอบการที่ตรงกับสาขาที่เรียน
  • ถ้าเป็นพนักงานของสถานประกอบการอยู่แล้วให้ขออนุญาตสถานประกอบการ
  • สถานประกอบการและสถานศึกษาจะร่วมกันสัมภาษณ์ เพื่อรับเข้าเป็นนักศึกษาระบบทวิภาคี
  • หากผ่านการสอบ จะได้จัดทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ
  • เริ่มการเรียนและการฝึกอาชีพทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ
คุณสมบัติของผู้เรียน
  • สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 / เทียบเท่า / ปวช. ทุกสาขา หรือพนักงานที่ทางสถานประกอบการคัดเลือกมา (มีวุฒิการศึกษาหรือใบรับรองมาแสดง)
  • มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
  • เพศหญิงหรือชาย
  • มีสภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เหมาะสมที่จะเรียนวิชาชีพในสาขาวิชาในอาชีพที่สมัครนั้นได้ตลอดหลักสูตร
  • สามารถฝึกอาชีพในสถานประกอบการได้
  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
  • เป็นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ หรือพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการค้า หรือเสพติดยาเสพติดทุกชนิดมาก่อน
  • มีใจรักในวิชาชีพที่ตนจะเข้ารับการฝึก
  • ยินดีปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานประกอบการและสถานศึกษา
ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ
  • ได้รับการฝึกอาชีพที่ดี ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
  • ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน
  • ได้รับความรู้ทางวิชาการจากสถาบันอาชีวศึกษา
  • ได้รับค่าตอบแทน / เบี้ยเลี้ยง และความช่วยเหลืออื่น ๆ ด้านการศึกษาจากสถานประกอบการ
  • มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ
  • ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอาชีพที่สถานประกอบการลงนามร่วมกับสถานศึกษาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • เป็นการฝึกอาชีพที่ดี และได้รับความรู้ทางด้านวิชาการจากวิทยาลัย ฯ
  • ได้งานที่มีรายได้ดี
  • โอกาสในการศึกษาต่อเหมือนนักศึกษาระบบทั่วไป